ขุดบ่อสู้แล้ง ให้มีน้ำใช้เพียงพอต่อการใช้ ทำอย่างไรดี…?
ปัญหาภัยแล้งของทุกปี!!! เป็นเรื่องที่ภาคการเกษตรต้องพบเจอเกือบทุกปี และนับวันทวีคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่เป็นจำนวนมากที่ต้องประสบกับ ปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะน้ำใช้ในภาคการเกษตรใช้เพาะปลูก ภัยแล้งในแต่ละปี แน่นอนว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เคยพบเจอ เริ่มตระหนักให้ความสำคัญการขุดบ่อเป็น อีกเหตุหลหนึ่ง ในการบรรเทาภัยแล้ง การเตรียมบ่อสำหรับกักเก็บน้ำตุนไว้ใช้ ในช่วงแล้งกันแล้ว ทำให้เราซึ่งเป็นเกษตรกรทำมาหากินได้อย่างต่อเนื่อง อาจจะกล่าวได้ว่า มีน้ำก็เหมือนมีหลักประกันเรื่องผลผลิตนั่นเอง
การขุดบ่อน้ำแต่เดิมไม่มีการคำนึงถึงหลักความเป็นจริงของธรรมชาติ ไปขุดบ่อน้ำบนที่ดอน แถมยังทำคันบ่อสูงจนน้ำไหลเข้าไม่ได้ ทำให้ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เก็บน้ำไม่ได้ กลายเป็นหลุมร้าง ไร้ประโยชน์ บางแห่งปล่อยทิ้งให้รกร้างไปเกือบ 50% ต้องการขุดบ่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
– มีพื้นที่บ่ออย่างน้อย 1 ไร่ เพื่อที่จะให้ใช้ได้เพียงพอในช่วงแล้งประมาณ 7 เดือน
– เลือกขุดบริเวณที่ลุ่มต่ำ สังเกตว่าบริเวณนั้นนำไหลลงและพัดพากรวดไหลไปรวมกัน หากด้านล่างเป็นดินดานก็จะช่วยเก็บน้ำได้ดีด้วย ไม่ควรไปขุดบนเนิน เพราะน้ำไม่ไหลลงบ่อแน่นอน และด้านล่างมักเป็นดินร่วน จึงทำให้เป็นน้ำไม่อยู่ น้ำซึมลงใต้ดินหมด
– ความลึกประมาณ 4-5 เมตร วัดจากดินเดิม ไม่รวมคันดินที่สูงขึ้น อากาศร้อนจัดน้ำจะระเหยมาก ยิ่งลึกยิ่งดี จะได้มีน้ำเหลือเยอะ
– ทำคันดินห่างจากขอบบ่อ 1-2 เมตร เพื่อกันดินไหลลงบ่อ และต้องเปิดทางให้น้ำไหลลงบ่อได้ด้วย หากรอน้ำฝนตกลงบ่ออย่างเดียวคงไม่เต็มบ่อ
– ควรขุดบ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะเสียพื้นที่ขอบบ่อน้อยที่สุด และมีความลาดเอียง 45 องศา เพื่อป้องกันตลิ่งทรุด หรือต้องทำตะพักน้ำ จะช่วยป้องกันตลิ่งทรุดในช่วงที่น้ำในบ่อมีน้อย
– เลี้ยงปลาในบ่อไปด้วย เป็นอาชีพเสริมอีกทาง
อย่างไรก็ตามเกษตรกร ควรเลือกปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อยและทนแล้ง ไม่ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น ทำนา เพราะอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้ เนื่องจากระยะ หลัง ราคาข้าว/ เกวียน ราคาผันผวนไปมากเราจะผ่านแล้งนี้กันแบบชิลล์ๆ ไปด้วยกันนะคะ
ที่มา : svgroup.co.th