การบำรุงดิน

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ชุมชนยั่งยืน” พามาติดตามเรื่องราวการค้นพบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่คาดว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ จากประเทศไทย ไปประเทศเมียนมา ซึ่งขณะนี้เตรียมสำรวจเเละพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
หลังจากมีผู้ค้นพบถ้ำโกโบริ ถ้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ทำให้มีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่เดินทางมาเที่ยวชม โดยถ้ำโกโบริคาดว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ จากประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟตันปุยสัยยัด ประเทศเมียนมา

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ตัวถ้ำโกโบริติดถนนระหว่างอำเภสังขละบุรี ไปบ้านพระเจดีย์สามองค์ ถนนสาย 323 หลักกิโลเมตรที่ 269 หมู่ 8 บ้านซองกาเรีย อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

การเดินทางเข้าสู่ถ้ำโกโบริ

อยู่ติดถนนสาย 323 ประมาณ 50 เมตร พบแปลงปลูกพืชทางการเกษตรมันสำปะหลังของชาวบ้าน
หลังจากนั้นต้องเดินเท้าอีก 30 เมตร ทางลาดชัน ถึงปากถ้ำ
ความกว้างของปากถ้ำประมาณ 2เมตร ต้องมุดเข้าไปในถ้ำแล้วถึงจะเดินได้
ภายในถ้ำมีความสูงประมาณ 1.90 เมตร
พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ภายในถ้ำมีอากาศเย็น ลมระบายถ่ายเข้าออกดี
ความยาวของถ้ำประมาณ 40 เมตร รอบบริเวณของถ้ำปกคลุมด้วยต้นไม้นานาพันธุ์

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

เตรียมสำรวจเพื่อพัฒนาเป็นเเหล่งท่องเที่ยว

นายณัฐพัชร์ งามศิริโรจน์ หัวหน้าความมั่นคงปลัดอำเภอสังขละบุรี ได้ทราบเรื่องดังกล่าวว่าค้นพบถ้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่2 จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หลังจากนี้จะออกสำรวจ ว่าที่บริเวณดังกล่าวเป็นของหน่วยงานใดรับผิดชอบเพื่อนำมาพัฒนาสร้างเป็นอันซีนแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอสังขละบุรี

ภาพจาก wikipedia
ภาพจาก wikipedia

สำหรับทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายน้ำตก หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี เดิมเรียก ทางรถไฟสายพม่า) เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า

ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า

ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย บ้านท่าเสา ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวัน และมีการจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะ หรือช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างสะพานเลียบริมหน้าผาและแม่น้ำแควน้อย มีความยาวประมาณ 400 เมตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *