ข่าวเด่นวันนี้

เอาแล้ว! คนไทยมากกว่าล้าน อาจโดนตัดสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท

เอาแล้ว! คนไทยมากกว่าล้าน อาจโดนตัดสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ต้องบอกว่าในช่วงที่ผ่านมา นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของ ครม.เศรษฐา 1 ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัดฉีดเม็ดเงินครั้งมโหฬารกว่า 5.6 แสนล้านบาทกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากฝอย กระจายทุกพื้นที่ หลังจากที่สภาพสังคมเศรษฐกิจไทยซบเซายาวนานกว่า 9 ปี ซึ่งเตรียมแจกประชาชนในช่วงต้นไตรมาสแรกของปี 2567

อย่างไรก็ตาม ก็มีกระแสเรียกร้องจากประชาชน ในเรื่องรัศมีการใช้งานเพียง 4 กิโลเมตรนับจากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เนื่องจากบางพื้นที่เป็นถิ่นชนบท หลายแหล่งไม่มีร้านค้ารองรับเพียงพอกับระยะทางดังกล่าว เกี่ยวกับเรื่องนี้นายเศรษฐา
ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวเอาไว้ว่า กรณีที่คนอยากให้ยกเลิกการใช้รัศมีระยะ 4 กม. ยังไม่มีความคิดนี้ แต่รัฐบาลจะนำบางพื้นที่ไปปรับตามความเหมาะสม อยากให้ประชาชนกลับถิ่นฐานไปใช้ตามบัตรประชาชน

ทั้งนี้ ทางด้านกระทรวงการคลัง ก็มีแผนเล็งจะปรับเงื่อนไขดังกล่าว โดยจะให้ใช้ภายในอำเภอนั้น ๆ แทนแต่ยังไม่ได้มีข้อสรุปแน่ชัด
และนี่เอง คือ ปัญหาใหญ่ต่อประชากรแฝง เพราะด้วยระยะเวลาการใช้งานเพียง 6 เดือน บวกกับความอยู่ไกลบ้าน มันจึงเป็นความยากลำบากแก่การใช้งาน ส่งผลให้พวกเขาเหล่านี้จะถูกตัดสิทธิ์ อดรับเงิน 1 หมื่นบาท เพราะบางคนไม่สามารถกลับภูมิลำเนาได้ตามใจนึก

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า ประชากรแฝง คืออะไร เราจะมาอธิบายให้ฟัง โดยคำว่า ประชากรแผง อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ หมายถึง ประชากรที่เข้ามาอยู่อาศัย มาเรียน มาทำงานในจังหวัดนั้น ๆ โดยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ

ประชากรแฝงกลางวัน (Commuter Population) หมายถึง ผู้ที่เดินทางมาทำงานหรือเรียนหนังสือในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่ โดยอาจจะเดินทางมาเช้าไปเย็นกลับ หรือพักค้างคืนในจังหวัดนั้นๆ

ประชากรแฝงกลางคืน (Non-registered Population) หมายถึง ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่นั้น แต่อาจจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจังหวัดอื่น ในต่างประเทศ หรือไม่มีชื่อที่ใดเลย

ซึ่งประชากรแฝง มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยประชากรแฝงกลางวันมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังแรงงานในจังหวัดที่เข้ามาทำงานหรือเรียนหนังสือ
ในขณะที่ประชากรแฝงกลางคืนมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในจังหวัดนั้น ๆ ส่งผลให้จังหวัดมีกำลังซื้อและรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระจายความเจริญสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เฉพาะในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรแฝงสูงถึง 2.7 ล้านคน

จากการลงข้อมูลสำรวจพบว่า ประชากรแฝงส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานบ้านเกิดข้ามมาหลายร้อยกิโลเมตร ไม่ใช่ลักษณะของการข้ามรอยต่อจังหวัด
ส่วนใหญ่ทำอาชีพรับจ้างรายวัน หรือแรงงานในระดับปฏิบัติการ ติดเงื่อนไขเรื่องเวลาของการลางานหรือไม่สามารถหยุดงานได้ ดังนั้น เมื่อมองดูเงื่อนไขนโยบายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแล้ว จึงเป็นไปได้ยากที่จะกลับไปใช้สิทธิ แม้ว่าจะมีวันหยุดยาวช่วงเทศกาลอย่างสงกรานต์ก็ตาม

เงื่อนไขเงินดิจิทัล 10000 บาท ที่ทำให้ประชากรแฝงเสี่ยงโดนตัดสิทธิ

– ใช้งานภายใน 6 เดือน

– หลังจากได้รับเงิน ซื้ออุปโภค บริโภคได้ สินค้าอบายมุขซื้อไม่ได้ ซื้อของออนไลน์ไม่ได้ ใช้หนี้พนันไม่ได้

– สินค้าข้างบนต้องใช้จ่ายกับร้านค้าชุมชนใกล้บ้าน 4 กม. จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน

– ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ ไม่สามารถโอนเงินให้แก่กัน

– ถ้าไม่มีมือถือให้ใช้จ่ายผ่านเลขบัตรประจำตัวประชาชน

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง จะเป็นตัวบีบให้ประชาชนแฝงหลายคนติดปัญหาไม่สามารถกลับภูมิลำเนาไปใช้จ่ายได้ทันตามกรอบเวลาได้

ขอบคุณ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, พรรคเพื่อไทย

เรียบเรียง siamnews

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *