ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ศาลหลักเมือง กับ ตำนานการสร้าง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย วันนี้รายการ ปาฏิหาริย์ ช่วง เจนจิราหามาเล่า ขอพาทุกคนย้อนกลับไปฟัง ตำนานศาลหลักเมือง และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองประเทศตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์จนถึง กรุงเทพมหานคร ร่วม 241 ปี
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย ศาลหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ยอดเสารูปบัวตูม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่ที่พระราชทานนามว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” หรือเรียกต่อกันมาว่า “กรุงเทพมหานคร” สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญประชาชนชาวไทย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา เป็นเสาไม้สักเป็นแกนอยู่ภายในประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ และผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น
ในปีพุทธศักราช 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศาลหลักเมือง ในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหานครตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมืองให้มีความงดงามบริบูรณ์สมกับเป็นที่สถิตแห่งองค์พระหลักเมือง และให้เชิญเสาหลักเมืองต้นเดิมไปประดิษฐานไว้คู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง ณ วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2529
ในการนี้ คณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดำเนินงานปรับปรุงศาลหลักเมือง
รวมทั้งได้สร้าง ศาลเทพารักษ์ เพื่อเป็นที่สถิตแห่งเทพารักษ์ทั้ง 5 ได้แก่
พระเสื้อเมือง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนฐานสิงห์ พระหัตถ์ซ้ายทรงคทาวุธ พระหัตถ์ขวา ยกชูขึ้นทรงจักราวุธ “พระเสื้อเมือง” เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันภัยทั้งทางบกและทางน้ำ คุมไพร่พลรักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
พระทรงเมือง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนฐานปัทม์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ ขวายกชูขึ้นทรงสังข์ “พระทรงเมือง” เป็นเทพารักษ์มีหน้าที่ปกป้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนทั้งแผ่นดิน และดูแลความผาสุกของประเทศ
พระกาฬไชยศรี
รูปเทพารักษ์สี่กรหล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับบนหลังนกแสก ซึ่งอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยมปิดทองพระหัตถ์ซ้ายบนยกชูทรงเชือกบาศสำหรับคล้องมัดปราณของมนุษย์ผู้ถึงฆาต พระหัตถ์ซ้ายล่างยกเสมอพระนาภี พระหัตถ์ขวาบนยกชูทรงชวาลา พระหัตถ์ขวาล่างทรงพระขรรค์ “พระกาฬไชยศรี” เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้ใดทำความชั่ว รวมทั้งสอดส่องดูแลบุคคลอันธพาลในยามค่ำคืนด้วยการขี่นกแสกออกตรวจตรา และเมื่อบุคคลใดถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชําระความ ถ้าทำความดีก็ส่งขึ้น สวรรค์ ทำความชั่วก็ส่งลงนรก
เจ้าพ่อหอกลอง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนแท่นแปดเหลี่ยม พระหัตถ์ทั้งสองยกเสมอระดับพระอุระ พระหัตถ์ขวาทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายทรงเขาสัตว์ สำหรับใช้เป่าเป็นสัญญาณเรียกประชุมไพร่พลให้มาเข้าประจำ หน้าที่ตามธรรมเนียมปฏิบัติกันในสมัยโบราณ “เจ้าพ่อหอกลอง” เป็นเทพารักษ์ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน แล้วรายงานเหตุร้ายที่เกิดขึ้นให้พระเสื้อเมืองซึ่งมีหน้าที่ดูแลความเป็นไปต่าง ๆ ในเมืองให้รับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เจ้าพ่อเจตคุปต์
รูปเทพารักษ์จำหลักด้วยไม้ปิดทองทั้งองค์ ประทับยืนบนแท่น พระหัตถ์ทั้งสองยกเสมอระดับพระอุระ พระหัตถ์ขวาถือเหล็กจาร พระหัตถ์ซ้ายถือใบลาน อัครสันธานาสำหรับจดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป “เจ้าพ่อเจตคุปต์” เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดบันทึกความชั่วร้ายของมนุษย์ที่ตายไปแล้วนำเสนอต่อพระยม
กำลังโหลด
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
แชร์
28 พฤศจิกายน 2566
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
”
ศาลหลักเมือง กับ ตำนานการสร้าง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย วันนี้รายการ ปาฏิหาริย์ ช่วง เจนจิราหามาเล่า ขอพาทุกคนย้อนกลับไปฟัง ตำนานศาลหลักเมือง และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองประเทศตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์จนถึง กรุงเทพมหานคร ร่วม 241 ปี
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย ศาลหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ยอดเสารูปบัวตูม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่ที่พระราชทานนามว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” หรือเรียกต่อกันมาว่า “กรุงเทพมหานคร” สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญประชาชนชาวไทย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา เป็นเสาไม้สักเป็นแกนอยู่ภายในประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ และผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ในปีพุทธศักราช 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศาลหลักเมือง ในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหานครตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมืองให้มีความงดงามบริบูรณ์สมกับเป็นที่สถิตแห่งองค์พระหลักเมือง และให้เชิญเสาหลักเมืองต้นเดิมไปประดิษฐานไว้คู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง ณ วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม 2529
ในการนี้ คณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดำเนินงานปรับปรุงศาลหลักเมือง
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
รวมทั้งได้สร้าง ศาลเทพารักษ์ เพื่อเป็นที่สถิตแห่งเทพารักษ์ทั้ง 5 ได้แก่
พระเสื้อเมือง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนฐานสิงห์ พระหัตถ์ซ้ายทรงคทาวุธ พระหัตถ์ขวา ยกชูขึ้นทรงจักราวุธ “พระเสื้อเมือง” เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันภัยทั้งทางบกและทางน้ำ คุมไพร่พลรักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
พระทรงเมือง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนฐานปัทม์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ ขวายกชูขึ้นทรงสังข์ “พระทรงเมือง” เป็นเทพารักษ์มีหน้าที่ปกป้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนทั้งแผ่นดิน และดูแลความผาสุกของประเทศ
พระกาฬไชยศรี
รูปเทพารักษ์สี่กรหล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับบนหลังนกแสก ซึ่งอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยมปิดทองพระหัตถ์ซ้ายบนยกชูทรงเชือกบาศสำหรับคล้องมัดปราณของมนุษย์ผู้ถึงฆาต พระหัตถ์ซ้ายล่างยกเสมอพระนาภี พระหัตถ์ขวาบนยกชูทรงชวาลา พระหัตถ์ขวาล่างทรงพระขรรค์ “พระกาฬไชยศรี” เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้ใดทำความชั่ว รวมทั้งสอดส่องดูแลบุคคลอันธพาลในยามค่ำคืนด้วยการขี่นกแสกออกตรวจตรา และเมื่อบุคคลใดถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชําระความ ถ้าทำความดีก็ส่งขึ้น สวรรค์ ทำความชั่วก็ส่งลงนรก
เจ้าพ่อหอกลอง
รูปเทพารักษ์หล่อด้วยสำริดปิดทอง ประทับยืนบนแท่นแปดเหลี่ยม พระหัตถ์ทั้งสองยกเสมอระดับพระอุระ พระหัตถ์ขวาทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายทรงเขาสัตว์ สำหรับใช้เป่าเป็นสัญญาณเรียกประชุมไพร่พลให้มาเข้าประจำ หน้าที่ตามธรรมเนียมปฏิบัติกันในสมัยโบราณ “เจ้าพ่อหอกลอง” เป็นเทพารักษ์ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน แล้วรายงานเหตุร้ายที่เกิดขึ้นให้พระเสื้อเมืองซึ่งมีหน้าที่ดูแลความเป็นไปต่าง ๆ ในเมืองให้รับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เจ้าพ่อเจตคุปต์
รูปเทพารักษ์จำหลักด้วยไม้ปิดทองทั้งองค์ ประทับยืนบนแท่น พระหัตถ์ทั้งสองยกเสมอระดับพระอุระ พระหัตถ์ขวาถือเหล็กจาร พระหัตถ์ซ้ายถือใบลาน อัครสันธานาสำหรับจดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป “เจ้าพ่อเจตคุปต์” เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดบันทึกความชั่วร้ายของมนุษย์ที่ตายไปแล้วนำเสนอต่อพระยม
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ตำนานศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองไทย
ปัจจุบันนี้ ภายใน ศาลพระหลักเมืองกรุงเทพฯ เป็นที่ชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งทางใจของผู้คนจากทั่วทุกสารทิศใครปรารถนาหรือต้องการอะไร ก็ไปบนกับเจ้าพ่อหลักเมือง เมื่อสมปรารถนาแล้วก็ไปแก้บนอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ ใกล้ขึ้นศักราชใหม่แล้ว ใครที่อยากขอพรเอาฤกษ์เอาชัยเริ่มต้นปีใหม่ด้วยสิ่งดีๆ ก็อย่าลืมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้นะคะ
ขอขอบคุณและภาพจาก : สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง